วันอังคารที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2557

อาชีพในชุมชน ขายซูชิ(SUSHI) อาชีพค้าขาย: -Blog My Store

Sushi หรือ ซูชิ อาชีพค้าขายในชุมชน Sushi อาหารญี่ปุ่นเมนูหนึ่งที่ขายดีซูชิเป็นที่รู้จักกันไปทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทยเองก็ไม่น้อยหน้าใครหากใครไม่รู้จัก sushi ถือได้ว่าตกขอบโลกแน่ๆ สำหรับเจ้า sushi นี้ถือเป็นสินค้าอาหารที่ทำง่ายสุดๆ ซูชิข้าวรสชาติเปรี้ยวจากน้ำส้มและอมหวานหน่อยจากน้ำตาลถือเป็นรสชาติที่ลงตัวจนทำให้หลายคนหลงไหลติดกันงอมแงมที่เดียวในหลักการแล้วซูชิคือข้าวซูชิแล้ววางหน้าปลาดิบไว้ด้านบนข้าวและอาจพันสาหร่ายแห้งหรือโนริด้วยก็ได้ในการทำซูชิหน้าปลาดิบมักจะใส่วาซาบิไว้ใต้หน้าเพื่อลดความคาวของหน้าโดยที่ลิ้นและจมูกยังไม่ทันรับรสสัมผัสของกลิ่นคาวได้แต่รับรู้ถึงรสเผ็ดซ่านของวาซาบิแทนดังนั้นเวลาเราทานปลาดิบเราถึงไม่รู้สึกถึงกลิ่นคาวเลยนั้นเอง การที่ผู้เขียนนำเสนออาชีพขายซูชิก็เพราะว่าเป็นอาหารที่ทำง่ายขายง่ายได้กำไรสูง


ซูชิอาชีพค้าขาย
ขายซูชิอาชีพค้าขายในชุมชน

การเริ่มต้นทำ Sushi เป็นอาชีพ

คุณสมบัติผู้ทำอาชีพขายซูชิ

  • ต้องมีใจรักการทำอาหาร ไม่ว่าอาหารอะไรสัญชาติใดๆก็ตามล้วนแต่ยุ่งยากวุ่นวายเหมือนกันทั้งนั้นเพียงแต่เจ้าซูชินี้มันทำง่ายพอๆกับปั้นข้าวเข้าปากเรานั้นแหละแต่ที่วุ่นวายสุดคือการเตรียมหน้าซูชิมันเหมือนเราเตรียมขายแกงร้อยหม้อนั้นแหละวุ่นวายไม่ต่างกันเพียงแต่การเตรียมหน้าซูชิใช้เวลาน้อยกว่ามากๆ
  • ต้องเป็นมีความคิดสร้างสรรค์ ในการทำ Sushi นั้นต้องมีจินตนาการพอสมควรการจัดแต่งและออกแบบหน้าซูชิให้มีสีสรรและแปลกใหม่จะทำให้ท่านขายได้ทุกวันคนกินซูชิก็กินกันได้ทุกวัน
  • ต้องมีใจรักบริการ เป็นธรรมดาหากรักอาชีพค้าขายต้องมีใจรักบริการโยเฉพาะเจ้าซูชิมีหน้าซูชิให้เลือกมากมายก็ยิ่งต้องใช้บริการคนขายคอยแนะนำมากขึ้นคนทำอาชีพนี้ก็ต้องทำใจ
  • รักที่จะเรียนรู้อาหารซูชิไม่มีกฎเกณฑ์ใดตายตัวดังนั้นคนขายซูชิต้องมั่นเรียนรู้มีอะไรแปลกใหม่คนนิยมชมชอบอะไรก็จับมาทำเป็นหน้าซูชิเสียเลย

ประวัติซูชิคราวเพื่อความรู้

ดังเดิมการทานข้าวซูชิของคนญี่ปุ่นเขาทานกับปลาดิบซึ่งเป็นปลาทะเลอาจมีประเภทหอยและไข่ของปลากุ้งปูบ้างแต่ส่วนใหญ่เป็นปลา ส่วนหากเป็นข้าวเปล่าที่ไม่ปรุงรสก็ต้องเป็นข้าวร้อนๆแล้วหมกไข่ไก่ไว้ตรงกลางและวางหน้าซูชิที่เป็นพวกปลาดิบหรืออาหารทะเลที่ชอบไว้ด้านบนโรยด้วยสาหร่ายทะเลแห้งหรืออาจเป็นผงปลาแห้งก็ได้

ประเภทของซูชิ

เอาที่บ้านเรานิยมก็แล้วกันส่วนแบบอื่นหากท่านสนใจลองหาข้อมูลเพิ่มเติมดู



nigiri
nigirisushi

Nigiri Sushi  ซูชิข้าวปั้นรูปทรงเรือรบมีหน้าซูชิวางไว้ด้านบนข้าวหน้าซูชิที่นิยมได้แก่ หน้ากุ้งซูฃิ,หน้าปูอัด,หน้าไข่หวาน,หน้าปลาดิบประเภทปลาแซลมอน,ปลาทูน่า(ปลาโอญี่ปุ่น),ปลาโอไทย,ปลาทู,ปลาหมึกขาว,หนวดปลาหมึยักษ์ และไข่หวานหรือไข่ม้วนญี่ปุ่น เป็นต้น


Sushi Nori Maki
Sushi Nori Maki

Sushi Nori Maki  ซูชิรูปทรงแท่งกระบอกตัดแบ่งชิ้นพอคำ ลักษณะการทำมี 2 แบบ คือ แบบห่อขาว คือการห่อด้วยสาหร่ายแต่กลับด้านเวลาม้วนหมุนเอาด้านที่เป็นข้าวไว้ด้านนอก และ แบบห่อดำคือการห่อซูชิแบบดังเดิมโดยม้วนเอาสาหร่ายไว้ด้านนอก ส่วนไส้ที่นิยมใช้กันก็คือ ปูอัด,กุ้ง,ไข่หวาน,ปลาดิบ,ผักสดประเภทแตงกว่า,แครอท,และผักใบใหญ่เช่นกรีนโอ๊ค,ผลไม้ประเภทกีวี,อโวกาโดหรือจะลองประเภทผลไม้ไทยก็อร่อยไม่แพ้กันผู้เขียนก็นิยมทำบ่อยๆคือมะม่วงสุกแตงไทยดิบมะละกึ่งสุกกึ่งดิบและส้มโอหวานอันนี้รับรองเด็ดเข้ากันดีมากผู้เขียนเชียร์เต็มที่แต่ต้องส้มโอหวานจริงๆนะ




Gunkan Sushi
Gunkan Sushi

Gunkan Sushi  ซูชิรูปทรงถ้วยแล้วยัดหน้าซูชิที่ชอบใส่ลงไป ที่นิยมได้แก่ ประเภทไข่ได้แก่ไข่กุ้ง,ไข่ปลา,ไข่ปู,ไข่หอยเม่น ,หน้าสลัด เช่นสลัดกุ้ง,สลัดปูอัด,สลัดผักเช่นยำสาหร่าย เป็นต้น ซูชิเมนูนี้บ้านเราทำเก่งกว่าคนญี่ปุ่นเพราะเราห่อข้าวแล้วตัดเป็นชิ้นๆแล้วนำหน้าซูชิวางลงไปบนข้าวเจ๋งสุด


temakisushi
Temakisushi

Temaki Sushi ซูชิรูปทรงกรวยที่ม้วนด้วยมือมีการใส่ไส้หลากหลายทั้งสุกและดิบเอาเป็นว่าชอบอะไรก็ใส่ๆไป ถ้าเทียบกับบ้านเราพอประมาณได้กับการกินเมี้ยง คือ ใคร่อย่างใส่อะไรก็ใส่ไปตามใจคนกินเพราะกินเองม้วนเองแต่บ้านเราเอามาทำเป็นเมนูซูชิที่ลงตัวและได้รับความนิยมดีเหมือนกัน

  • ระดับการลงทุน 5,000-10,000 บาท ขึ้นอยู่กับความต้องการความหลากหลายของหน้าซูชิเป็นหลัก
  • การใช้แรงงาน 1-2 คน
  • เวลาในการเตรียมสินค้า 1-2 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับความชำนาญ
  • ระดับของยอดขาย ตลาดนัด 2,000 - 10,000 บาท ขึ้นอยู่กับขนาดของตลาด ตลาดที่ทำงานของบรรดารัฐวิสาหกิจ ขายวันหนึ่ง 15,000-20,000 บาท
  • เกณฑ์ของราคา 5 - 15 บาท   กำไร  50%ขึ้น ขึ้นอยู่กับการควบคุมต้นทุนของคนทำ

วัตถุดิบและอุปกรณ์ทำซูชิ
  1. ข้าวสารญี่ปุ่น
  2. สาหร่ายโนริสำหรับห่อข้าว
  3. น้ำปรุงรสข้าวซูชิ ( ส่วนผสม น้ำส้มหมัก 3 ถ้วย , น้ำตาล 2 ถ้วย , เกลือ 1-2 ช้อนชา รสชาติปรับปรุงได้ตามชอบขึ้นกับลูกค้าในชุมชนของท่านว่าชอบรสชาติแบบไหนหวานเปรี้ยวปรับได้ตามชอบไม่ต้องกังวน )
  4. ถาดหรืออุปกรณ์ที่ใช้วางซูชิโชว์
  5. ไส้และหน้าซูชิ ตามกำลังทรัพย์ที่ท่านพร้อมค่อยเป็นค่อยไปก็ได้

หน้าซูชิที่มีขายในท้องตลาดคือ

ไข่กุ้ง Shogun (ถุง) ทุกสี ,ไข่กุ้ง Shogun (กล่อง) ทุกสี   ,ไข่กุ้งบูลเบอรี่,สตอเบอรี่ Shogun(ถุง) ทุกสี ,ไข่กุ้งบูลเบอรี่,สตอเบอรี่ Shogun(กล่อง) ทุกสี ,สลัดสาหร่ายเขียว(รสดั้งเดิม)2A 1,000 กรัม. ,สลัดสาหร่ายเขียว(รสดั้งเดิม)1A 1,000 กรัม.,สลัดสาหร่ายแดง(รสเผ็ด)1A 500 กรัม.,หอยเชลล์ปรุงรสกิมจิ ,หอยเชลล์ปรุงรสงา ,แมงกะพรุนปรุงรสกิมจิ ,แมงกะพรุนปรุงรสงา ,หอยลายปรุงรสกิมจิ ,หมึกกระดองปรุงรสกิมจิ ,กุ้งขาวปรุงรสกิมจิ ,หอยปีกนกปรุงรสกิมจิ ,หอยขาว(Cockle)ปรุงรสกิมจิ ,ปูอัดซูชิ A สูตร 2 (32 แท่ง) ,ปูอัดซูชิ A สูตร 2 (40 แท่ง),ปูอัดคลื่นไข่(สีเหลือง) ,ปูอัดซากุระ(สีชมพู) ,ปูอัดฮอกไกโด (50  ชิ้น/แพ็ค) ,ปูอัดดอกไม้(ปะการัง) ,ปูอัดสลิม(ปูอัดทำสลัดซูชิ),ปูอัดแซลมอนอัดแท่ง ,หมึกหิมะสไลด์ 7 g,ก้ามปูเทียม(สีแดง) 500 g.,แซลมอนรมควัน(สโมกกี้แซลมอน) ,ทาโกะจัง (เกรดA) ,กุ้งซูชิ Size L (30 ตัว/แพ็ค),แซลมอนเทร้าแล่ครึ่งซีกติดหนัง ,แซลมอนเทร้าสไลด์ 8 กรัม(20ชิ้น),ปลาไหลญี่ปุ่น 70P.,ปลาซาบะดอง 500 g.,ไข่ม้วน(หวาน)หน้าซูชิ ,โชยุ(ซอสญี่ปุ่นแบบซอง) 100 ซอง ,โชยุ(ซอสญี่ปุ่นแบบแกลลอน) 1 ลิตร ,โชยุ(ซอสญี่ปุ่นแบบแกลลอน) 5 ลิตร ,ข้าวสารญี่ปุ่น,โนริ A 100 แผ่น ,โนริ B 100 แผ่น  ,วาซาบิสดถุงฝอย 500 g.,วาซาบิสดถุงจิ๋ว 3g.(100 ซอง),วาซาบิผงHouse(ตรากังหัน)1,000 g. ,ขาปูหิมะ(ปูอัดอลาสก้า) 250 g.,ปูอัดA  ยาว18 cm.(ใช้ทำไส้มากิซูชิ)  (19 แท่ง) ,มายองเนส white extra,มายองเนส Japan,หอยเชลล์ปรุงรสกิมจิ(New) ,หอยเชลล์ปรุงรสงา(New) ,แมงกะพรุนปรุงรสกิมจิ(New) ,แมงกะพรุนปรุงรสงา(New) ,หอยลายปรุงรสกิมจิ(New),หมึกกระดองปรุงรสกิมจิ(New),กุ้งขาวปรุงรสกิมจิ(New),เนื้อหอยเชลล์(ยกตัวไม่ติดไข่),ปรุงรสกิมจิ(New),ทาโกะจัง(สูตร2) ,หมึกสายฝน(20ชิ้น/แพ็ค) 

ราคาหน้าซูชิมีการเปลี่ยนแปลงขึ้นลงบ่อยหากมีโอกาศผู้เขียนจะนำร้านมาแนะนำอีกครั้ง






Tag link:อาชีพในชุมชน:>อาชีพขายซูชิ(SUSHI) > อาชีพหารายได้ของคนในชุมชน


อาชีพส่งอาหารปิ่นโต อาชีพที่น่าสนใจในชุมชน

ในสภาพการณ์ที่วุ่นวายของสังคมปัจจุบันที่ผู้คนในสังคมชุมชน มีเวลาลดน้อยลงเพราะส่วนมากวุ่นวานกับการทำอาชีพนอกบ้านจนทำให้เวลาที่มีดูเหมือนจะน้อยลงไปทุกวันจนหลายคนบอกว่า 1 วัน 24 ชั่วโมงยังไม่พอที่จะทำภาระกิจในแต่ละวันเสร็จได้ดังนั้นผู้เขียนมองว่าหากเราจะหยิบเอาอาหารปิ่นโตมาทำเป็นอาชีพก็คงดีไม่น้อยในชุมชนที่เราอาศัยอยู่ก็มีผู้คนอาศัยอยู่ไม่น้อยมีทั้งครอบครัวใหญ่และครอบครัวเล็กดังนั้นหากเรานำเสนออาหารที่มีประโยชน์มีคุรค่าและราคาที่เป็นธรรมเหมาะสมกับการบริโภคของคนๆหนึ่ง 40-50/คน/มือก็คงดีไม่น้อย หลักแนวความคิดนี้ลองมองความเป็นไปได้ของอาชีพที่ทำว่าน่าสนใจแค่ไหนลองดู สมมุติในชุมชนเรามีสัก 100 ครอบครัว และชุมชนที่ใกล้เคียงอีก 3 ชุมชน แต่ละชุมชนมีประชากรราวเดียวกันคือ 100 ครอบ เท่ากับเรามีลูกค้าเป้าหมาย 400 ครอบครัว หากเขาใช้บริการเราสัก 20% ก็เท่ากับ 80 ครอบครัว บ้างก็สั่ง 3 มื้อ บางก็สั่ง 2 มื้อ บางก็สั่ง 1 มื้อ แต่ภาพรวมน่าจะเฉลี่ยได้ว่า 1 ครอบครัว สั่งปิ่นโตเรา 1 มื้อ เราทำปิ่นโต 2 รูปแบบ คือแบบ 3 คนทาน และแบบ 5 คนทาน สนราคาอยู่ที่ ชุดเล็ก 130บาท ชุดใหญ่ 220บาท หากเป็นดังนี้เราน่าจะมียอดขายต่อวัน12,560บาท/วัน(คำนวณจากประชากรส่วนใหญ่ในชุมชนเป็นครอบครัวเล็ก 70% (เท่ากับ 70% X 130 = 56ครอบครัว X 130 บาท = 7,280 บาท ) และครอบครัวใหญ่ของชุมชนมีประมาณ 30% (เท่ากับ 30% X 220 = 24 ครอบครัว X 220 บาท = 5,280 บาท ) และเราน่าจะมีกำไรเบื้องต้น 12,560/2 = 6,280 บาท / วัน ดูย่างนี้แล้วน่าสนใจหรือยังแต่ในความเป็นจริงแล้วแต่ละชุมชนมีผู้คนอาศัยอยู่เยอะกว่านี้มาก และการที่เราขายส่งอาหารปิ่นโตเป็นอาชีพนี้ยังเป็นการช่วยหาทางออกให้กับคนในชุมชนที่ไม่มีเวลาให้พวกเขาได้ทำงานในอาชีพได้อย่างสบายใจเพราะมีคนช่วยเรื่องอาหารการกินในครอบครัวแล้วก็คงหมดห่วงไปอีกหนึ่งอย่างละ อาชีพที่น่าสนใจขนาดนี้ลองดูองค์ประกอบว่าเราจะเริ่มกันอย่างไรดี



อาชีพส่งอาหารปิ่นโต
อาหารปิ่นโต


เริ่มต้นอาชีพส่งอาหารปิ่นโตในชุมชน

คุณสมบัติของผู้ทำอาชีพ
  1. มีฝีมือในการทำอาหารที่ถือว่าต้องดี
  2. มีพาหนะสำหรับจัดส่ง
  3. มีความรักในการบริการหวังให้คนอื่นมีความสุขมากกว่าหากำไรเพียงอย่างเดียว
  4. มีความอดทนสูง การทำอาหารเป็นเรื่องที่ยุ่งยากพอสมควรดังนั้นต้องอดทน
  5. เป็นคนที่เปิดกว้าง แน่นอนการทำอาหารเรื่องของรสชาติคงไม่สามารถูกอกถูกใจคนทั้งโลกได้หมดทุกคนหรอก แต่เราต้องเปิดกว้างยอมรับความคิดเห็นของคนอื่นด้วย คนกินคือคนที่จ่ายตังหากเขาไม่อร่อยแต่เราอร่อยคงไม่มีประโยชน์อันใดที่จะขายให้เขาเพราะไม่กี่ครั้งเขาก็คงไม่ซื้อเราแล้วดังนั้นปรับให้ถูกใจคนหมู่มากแต่อย่าปรับให้ถูกใจทุกคนเพราะมันเป็นไปไม่ได้ลองปรับเอาตามคนส่วนใหญ่ในชุมชนก็พอถือว่าเราอยู่ได้แน่นอน
  6. เงินทุน
การจัดอาหารสำหรับปิ่นโต
ชุดเล็ก มีอาหาร 3 อย่าง ขนมหวานหรือผลไม้ 1 อย่าง ข้าวสวยขนาด 3 คนทาน
ชุดใหญ่ มีอาหาร 5 อย่าง ขนมหวานหรือผลไม้ 1 อย่าง ข้าวสวยขนาด 5 คนทาน
ปริมาณการจัดแต่ละอย่างอย่ามากเกินไปเอาแค่พออิ่มจะได้ไม่เสียของ อย่าที่บ้านผู้เขียนเขาจัดมาให้เยอะมากบอกให้ลดก็ไม่ลดเหลือทิ้งทุกวันเสียด้ายก็เสียด้ายแต่ก็ทำอะไรไม่ได้ หากท่านไม่ทราบปริมาณท่านลองจัดอาหารตามรายการ แล้วให้คนในครอบครัวทานดูโดยเช็คปริมาณไว้ก่อนทานและหลังทานก็ดูว่าปริมาณที่หายไปนั้นแหละคือปริมาณที่ท่านควรจัดปิ่นโต และอีกอย่างประเภทแกงจืดหรือต้มจืดท่านควรแยกน้ำใส่ถุงไปเผื่อหน่อยจะได้ไม่ต้องใส่ในปิ่นโตมากจนล้น
ประเภทของอาหารที่จัดปิ่นโตแต่ละวัน
  1. ประเภทต้มหรือแกงจืด
  2. ประเภทผัด
  3. ประเภทแกงเผ็ด
  4. ประเภททอดหรือย่าง
  5. ประเภทยำหรือนึ่ง
  6. ขนมหวาน
ส่วนรายการให้ท่านวางเอาเองแต่อย่าซ้ำกันทั้งรายการและวันเช่นหากมี ประเภทต้มจืดก็อย่าทำผัดจืด เป็นต้น
การหาลูกค้าในชุมชน
  1. แจกใบปลิวพร้อมรายการอาหาร
  2. แจกคูปองเพื่อเพื่อให้ลูกค้าลองใช้บริการ
  3. ควรกำหนดเป็นรายสัปดาห์และรายเดือนจะได้ทราบลูกค้าที่แน่นอน
จุดเด่นของอาชีพส่งอาหารปิ่นโตในชุมชน

  1. ความสะดวก
  2. ราคาถูกกว่าการซื้ออาหารในตลาดมาบริโภค
  3. ได้อาหารหลายอย่าง
  4. ความสะอาดวางใจได้เนื่องจากเป็นคนทำคนเดิม
เวลาที่จัดส่งอาหารปิ่นโต

  1. เช้า : 05.30 - 07.30 น.
  2. เช้า :10.30 - 12.30 น.
  3. เช้า :15.30 - 18.30 น. ( ช่วงเย็นเวลาจะห่างเพราะลูกค้ากลับบ้านในเวลาไม่เท่ากัน )




Tag link:อาชีพในชุมชน:>อาชีพส่งอาหารปิ่นโต > อาชีพหารายได้ของคนในชุมชน

วันจันทร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2557

อาชีพในชุมชน อาชีพขายหมูปิ้งในชุมชน:-Blog My Store

อาชีพขายหมูปิ้งในชุมชน 

อาชีพที่ Blog My Store อย่างแนะนำอาชีพขายหมูปิ้งอาหารง่ายๆที่ทานกันได้ทุกเพศทุกวัย ด้วยความสะดวกทั้งเช้าเย็นดังนั้นหมูปิ้งจึงถือเป็นเมนูยอดนิยมของคนทุกชุมชนที่จะซื้อหาทานกันยิ่งหากเป็นหมูปิ้งที่มีรสชาติถูกปากของคนในชุมชนละก้อรับรองได้ว่าคนขายรวยได้ภายในไม่กี่เดือนกันเลยที่เดียว




อาชีพขายหมูปิ้ง
หมูปิ้ง


อุปกรณ์ที่ในการทำ


  • ไม้ปลายแหลมเอาไว้นำมาเสียบหมูปิ้ง
  • เตาแก๊ส เตาถ่านหรือเตาไฟฟ้าก็ได้แต่แนะนำให้ใช้เตาถ่านจะดีกว่าเพราะเราสามารถเลือกถ่านที่มีกลิ่นหอมมาใช้ได้ เช่นถ่านที่ทำมาจากไม้ไผ่ก็จะได้กลิ่นหอมของไม้ไผ่ทำให้หมูปิ้งของท่านมีเอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร
  • เหล็กปิ้งควรเลือกที่เป็นแสตนเลสเพื่อสุขภาพของลูกค้าแล้วยังสามารถใช้โปรโมทร้านเราได้ด้วยดีกว่าใช้ของถูกไม่มีคุณภาพแถมเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคอีกด้วย

เนื้อหมู

เนื้อหมูติดมันเล็กน้อย 5 กิโลกรัม (ส่วนใหญ่ใช้สันคอหมู )

เครื่องปรุง


  • นมสด 2 ถ้วยตวง
  • กระเทียม 4-6 หัวโคลกให้ละเอียด
  • ซีอิ้วขาว 12 ช้อนโต๊ะ
  • ชีอิ้วแดงหวาน 8 ช้อนโต๊ะ
  • เกลือเล็กน้อย
  • ผงปรุงรสหมู 2 ช้อนโต๊ะ
  • พริกไทยเม็ด 2 ช้อนโต๊ะโคลกให้ละเอียดเล็กน้อย
  • น้ำมันพืชเล็กน้อย
  • รากผักชีโคลกละเอียด 10-15 ราก
  • น้ำตาลทราย 3 ช้อนโต๊ะ
  • ขั้นตอนแรกให้นำเนื้อหมูมาหั่นบางๆตามขวางขนาดประมาณ 1.5 นิ้ว
นำส่วนผสมของเครื่องปรุงผสมรวมกันคลุกเคล้าให้เข้ากันแล้วนำหมูที่หั่นเสร็จแล้วมาคลุกเคล้ารวมกับเครื่องปรุงทั้งหมด
เมื่อได้เนื้อหมูที่คลุกกับส่วนผสมต่างแล้วให้นำไปหมักไว้ในตู้เย็นประมาณ 6-8 ชั่วโมง
นำหมูที่หมักไว้แล้วมาเสียบเข้ากับไม้ให้หมดน้ำหนัก/ไม้ 45-50 กรัม ราคาขายไม้ละ 10-12 บาท

เทคนิคการปิ้งหมูหรือย่างหมู 

  1. ไฟจะต้องไม่แรงเกินไปหากไฟแรงให้ใช้ขี้เถากลบถ่าน 
  2. ถ่านจะต้องทุบเป็นก้อนเล็กๆให้เติมถ่านที่ละน้อยค่อยเติมอย่าใจร้อนไม่งั้นหมูปิ้งของท่านไม่ไหม้ก็แข็งไม่น่าทาน 
  3. ระหว่างย่างให้ใช้แปรงชุมน้ำมันหรือนมคอยทาที่หมูปิ้งจะทำให้สีสวย 
  4. ย่างหมูควรให้สุกที่ละข้างไม่ควรกลับไปมาบ่อยๆเพราะจะทำให้หมูปิ้งของท่านแข็ง เพราะฉะนั้นดีที่สุดคือกะให้หมูปิ้งสุกที่ละด้านกล่าวคือกลับแค่ครั้งเดี่ยวพออันนี้ท่านต้องฝึกความชำนาญเอง ส่วนเตาไฟฟ้าหรือเตาแก๊สไม่ต้องพูดถึงเบาไฟได้เลย

เทคนิคนึ่งข้าวเหนียวให้นิ่ม 

1.ให้ใช้ข้าวเหนียวใหม่
2.แช่ข้าวอย่างน้อย 5-6 ชั่วโมง
3.เมื่อนึ่งข้าวเสร็จใหม่ๆให้นำมากระจายข้าวออกจากกันแล้วพรมน้ำโดยใช้ป๊อกกี้ฉีดพ่นน้ำใส่ข้าวให้ทั่วปริมาณมากน้อยเท่าไรขึ้นอยู่กับข้าวท่านต้องลองทำดูเมื่อพรมน้ำเสร็จแล้วให้เก็บใส่กระติกทันที







Tag link Blog My Store:อาชีพขายหมูปิ้ง:อาชีพในชุมชน > อาชีพหารายได้ของคนในชุมชน

วันอาทิตย์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2557

อาชีพหารายได้ของคนในชุมชน

อาชีพในชุมชนเรื่องราวในการทำอาชีพของคนที่อยู่ในชุมชน ชุมชนคือถิ่นที่อยู่อาศัยของคนในสังคมซึ่งประกอบด้วยประชากรในชุมชนจำนวนมากและมีความหลากหลายทั้งอาชีพการงานและวิถีทางในการใช้ชีวิตในชุมชนที่แตกต่างๆกันจึงถือได้ว่าเป็นเสน่ที่น่าสนใจของชุมชนจากการบอกเล่าเรื่องราวต่างๆในชุมชนนั้นคือความหลากหลายทางอาชีพ อาชีพในชุมชนที่สำคัญ ได้แก่ อาชีพในการทำเกษตรกรรม อาชีพในการทำหัตถกรรม อาชีพในการให้บริการ อาชีพค้าขายในชุมชน อาชีพทำอุตสาหกรรมในชุมชน

เกษตรกรรม อาชีพในชุมชนที่เกี่ยวข้องกับการเพาะปลูกเป็นสำคัญ ได้แก่ อาชีพทำไร่ อาชีพทำนา อาชีพปลูกผัก เป็นต้น เป็นอาชีพของคนในชุมชนส่วนใหญ่
หัตถกรรม อาชีพในชุมชนที่เกี่ยวข้องการประดิษฐ์และจักสาน ซึ่งเน้นการหาและใช้วัตถุดิบในชุมชนเป็นหลัก เป็นอาชีพที่เกี่ยวกับฝีมือความปราณีตและความคิดสร้างสรรเป็นสำคัญ เสน่ของงานหัตถกรรมคือวัตถุดิบที่หาได้เฉพาะในท้องถิ่นนั้นๆจึงจะมีมูลค่าสูงทำให้ผู้ประกอบอาชีพมีรายได้ดี
บริการ อาชีพในชุมชนที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการต่างๆทั้งที่เป็นคนในชุมชนหรือคนต่างถิ่นต่างพื้นที่ด้วย ส่วนใหญ่เป็นการใช้วิชาชีพในการประกอบอาชีพ ส่วนรายได้ก็ขึ้นอยู่กับความรู้ความสามารถเป็นหลัก ได้แก่ อาชีพข้าราชการ อาชีพแพทย์และพยาบาล อาชีพลูกจ้างพนักงานห้างร้านบริษัทในชุมชน อาชีพเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ อาชีพเกี่ยวกับภาษา อาชีพเกี่ยวกับการเรียนการสอน
ค้าขาย อาชีพในชุมชนที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์หรือสินค้าเป็นหลักโดยการประกอบอาชีพเป็นการหารายได้(กำไร)จากส่วนต่างของราคาต้นทุนสินค้ากับราคาขายสินค้าเป็นหลักส่วนใหญ่เราจะนิยมเรียกว่า ร้านค้าหรือพวกพ่อค้าแม่ค้า และการค้าขายมักจะนิยมทำกันในชุมชนเป็นหลักด้วยเหตุที่เป็นที่รู้กันว่าชุมชนเป็นแหล่งค้าขายยิ่งชุมชนมีขนาดใหญ่ร้านค้าร้านขายก็จะมีขนาดใหญ่โตตามไปด้วย

อุตสาหกรรม อาชีพในชุมชนที่มีการลงทุนเกี่ยวกับการผลิตเป็นหลัก เช่น อาชีพผลิตน้ำดื่มบรรจุขวด อาชีพผลิตน้ำแข็งหรือที่ชาวบ้านเรียกกันจนติดปากว่าโรงน้ำแข็ง อาชีพทำโรงสีข้าวมีทั้งแบบให้บริการและบรรจุถุงเพื่อส่งใ้ร้านค้าขายได้จำหน่ายด้วย
ชุมชน การสร้างชุมชนให้เข้มแข็งก็ต้องเริ่มจากรากฐานการสร้างอาชีพในชุมชนให้เข้มแข็งเสียก่อนเพื่อจะได้เก็บภาษีและค่าธรรมเนียมต่างได้มากและนำมาพัฒนาระบบต่างๆในชุมชนให้เข้มแข็ง อาทิ ระบบสาธารณูประโภคต่างๆ และความเป็นอยู่ของคนในชุมชนให้มีความผาสุข











วันจันทร์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2557

อาชีพอุตสาหกรรมในชุมชน

อาชีพอุตสาหกรรมในชุมชน

คืออาชีพที่มีการลงทุนเกี่ยวกับการผลิตเป็นหลัก เช่น อาชีพผลิตน้ำดื่มบรรจุขวด อาชีพผลิตน้ำแข็งหรือที่ชาวบ้านในชุมชนเรียกกันจนติดปากว่าโรงน้ำแข็ง อาชีพทำโรงสีข้าวมีทั้งแบบให้บริการและบรรจุถุงเพื่อส่งให้ร้านค้าขายได้จำหน่ายด้วย การทำอาชีพอุตสาหกรรมในชุมชนนั้นสิ่งที่ความคำนึงถึงให้มากคือการใช้แรงงานและวัตถุดิบในชุมชนเป็นหลักเพื่อสร้างความแตกต่างทางอุตสาหกรรมและการผลิตการสร้างอัตลักษณ์ให้ชัดเจนบ่งบอกตัวตนในชุมชนให้จัดเจนจะช่วยในการสร้างฐานผู้ใช้และผู้บริโภคในชุมชนเป็นหลัก การสร้างอาชีพในชุมชนหากเราไม่ใส่ใจคนในชุมชนก่อนก็ยากที่จะสร้างชื่อเสียงให้กับธุรกิจและผลิตภัณฑ์นั้นได้ การอาศัยชุมชนเป็นกระบอกเสียงในการโฆษณาประชาสัมพันธ์นั้นใช้ทุนน้อยแต่ได้ผลที่ยังยืน คุณลองนึกถึงหากสินค้าของคุณดีมีคุณภาพแต่ขาดคนในชุมชนใช้จะเกิดอะไรขึ้น ดังนั้นการอาศัยชุมชนในการสร้างชื่อเสียงมี 2 นัยสำคัญ คือ

1) การทำให้ชุมชนมีชื่อเสียง 

2)สร้างเสียงสะท้อนสู่ธุรกิจหรือผลิตให้มีชื่อเสียงโดยสังคมชุมชนแล้วชื่อเสียงจะสะท้อนออกนอกสู่สังคมชุมชนอื่นๆอีกทีหนึ่ง เพราะการทำอาชีพในชุมชนนั้นหากเรายึดโยงชุมชนเป็นตัวตั้งโดยใช้แรงงานและวัตถุดิบในชุมชนนั้นๆสามารถสร้างความเข้มแข็งให้กับอุตสาหกรรมที่ทำได้และท่านสามารติดตามเรื่องราวของอุตสาหกรรมอาชีพในชุมชนได้ที่ 

BLOG MY STORE 







 อาชีพในชุมชน tag link : BLOG MY STORE : ชุมชน : อาชีพอุตสาหกรรม : อาชีพค้าขาย : อาชีพให้บริการ : อาชีพหัตถกรรม : อาชีพเกษตรกรรม : อาชีพหารายได้ของคนในชุมชน

อาชีพค้าขาย อาชีพในชุมชน

ร้านค้าขายอาชีพในชุมชน

อาชีพในชุมชน อาชีพค้าขายที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์หรือสินค้าเป็นหลักโดยการประกอบอาชีพเป็นการหารายได้(กำไร)จากส่วนต่างของราคาต้นทุนสินค้ากับราคาขายสินค้าเป็นหลักส่วนใหญ่เราจะนิยมเรียกว่า ร้านค้าหรือพวกพ่อค้าแม่ค้า และการค้าขายมักจะนิยมทำกันในชุมชนเป็นหลักด้วยเหตุที่เป็นที่รู้กันว่าชุมชนเป็นแหล่งค้าขายยิ่งชุมชนมีขนาดใหญ่ร้านค้าร้านขายก็จะมีมากและขนาดใหญ่โตตามไปด้วย

การลงทุนทำอาชีพค้าขายในชุมชนสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญเป็นลำดับต้นๆได้แก่ 

1.ความต้องการของชุมชน 

2.ขนาดของชุมชนปรมาณประชากรในชุมชน 

3.สภาพทางกายภาพของชุมชน 

4.วิธีชีวิตประจำวันของคนในชุมชน 

1.ความต้องการของคนในชุมชน คือสิ่งที่เราต้องคนหาว่าคนในชุมชนชอบหรือไม่ชอบ มีความต้องการหรือไม่ต้องการอะไร รวมถึงว่าในชุมชนมีหรือยังหากมีก็ลองสำรวจดูถึงความพึงพอใจของคนในชุมชนดูว่าเขารู้สึกอย่างไร หากไม่มีกิจการอยู่ก็ถือเป็นเรื่องง่ายสำหรับการลงทุนค้าขายในชุมชน
2.ขนาดของชุมชนหมายรวมจำนวนประชากรในชุมชน การสำรวจมีความจำเป็นอย่างมาสำหรับการลงทุนทำอาชีพการสำรวจชุมชนให้ได้ปริมาณที่แน่นอนทั้งหมดของประชากรในชุมชนรวมทั้งการสำรวจพื้นที่อาณาบริเวณว่าครอบคลุมกี่กิโลเมตรเพื่อมองเรื่องความสะดวกในการมาใช้บริการหากในชุมชนมีพื้นที่ห่างกันมากการเดินทางอาจเป็นอุปสรรคในการมาใช้บริการถึงแม้จะเป็นสิ่งที่คนในชุมชนต้องการก็ตาม
3.สภาพทางกายภาพของชุมชน รวมถึงการคมนาคมขนส่งความสะดวกสบายในการเข้าออกหรือสัญจรผ่านไปมาได้สะดวกหรือไม่ซึ่งสภาพทางกายภาพของชุมชนนั้นมีความสำคัญยิ่งสำการทำอาชีพค้าขายในชุมชน เช่นภูมิศาสตร์ที่ตั้งของชุมชน เช่นเป็นที่ๆแห้งแล้งบ่อย เป็นที่น้ำท่วมงาน เป็นที่ๆมีอากาศหนาวหรือฝนตก เพื่อนำมาประการคัดเลือกสินค้ามาขายให้ชุมชนได้ถูกต้อง
4.วิธีชีวิตประจำวันของคนในชุมชน สังคมชุมชนนั้นมีการใช้ชีวิตประจำวันกันอย่างไรและประกอบกิจอันใดบ้างห่วงหรือช่วงเวลาที่เกี่ยวพันกันเป็นเวลาใด เราจะได้นำมาประกอบการกำหนดเวลาเปิดปิดกิจการของเราด้วย 

 





 อาชีพในชุมชน tag link : BLOG MY STORE : ชุมชน : อาชีพอุตสาหกรรม : อาชีพค้าขาย : อาชีพให้บริการ : อาชีพหัตถกรรม : อาชีพเกษตรกรรม : อาชีพหารายได้ของคนในชุมชน

อาชีพบริการอาชีพในชุมชน

บริการอาชีพในชุมชน

คืออาชีพที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการต่างๆทั้งที่เป็นคนในชุมชนหรือคนต่างถิ่นต่างพื้นที่ด้วย ส่วนใหญ่เป็นการใช้วิชาชีพในการประกอบอาชีพ ส่วนรายได้ก็ขึ้นอยู่กับความรู้ความสามารถเป็นหลัก ได้แก่ อาชีพข้าราชการ อาชีพแพทย์และพยาบาล อาชีพลูกจ้างพนักงานห้างร้านบริษัทในชุมชน อาชีพเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ อาชีพเกี่ยวกับภาษา อาชีพเกี่ยวกับการเรียนการสอน การบริการนั้นถือเป็นอาชีพในชุมชนอาชีพที่มีความน่าสนใจไม่ใช่น้อย โดยฉะเพรราะกลุ่มอาชีพเกี่ยวกับสุขภาพปัจจุบันชุมชนมีปัญหาทางสุขภาพเป็นอย่างมากการรักษาพยาบาลเพียงอย่างเดียวนั้นไม่เพียงพอกับวิธีชีวิตของคนในชุมชนเสียแล้ว การดูแลสุขภาพตั้งแต่เริ่มต้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งปัจจุบันอาชีพที่รับดูแลและปรึกษาปัญหาสุขภาพในชุมชนมีคนสนใจทำมากขึ้นเพราะเป็นอาชีพที่มีลูกค้ารายเดิมแต่ต้องดูแลอย่างต่อเนื่องซึ่งเป็นผลดีกับการทำอาชีพในชุมชนประเภทนี้และอีกอาชีพคืออาชีพที่ให้ความรู้คือการเรียนการสอน อาชีพในชุมชนที่เกี่ยวกับการเรียนเริ่มได้รับความนิยมมากขึ้นเนื่องจากชุมชนปัจจุบันเป็นครอบครัวสมัยใหม่สามีภรรยาทำงานนอกบ้านทั้งคู่การดูแลบุตรหลานจึงเป็นเรื่องยากสำหรับพวกเขาดังนั้นหากมีใคร่ที่คิดจะทำอาชีพนี้ก็ไม่ต้องสงสัยที่จะมีลูกค้าต่อคิวยาวเหยียดแน่นอนแต่หากสนใจทำอาชีพนี้จริงต้องเข้าใจไว้อย่างพ่อแม่ปัจจุบันมักตั้งความหวังกับลูกหลานไว้สูงด้วยเหตูที่ชุมชนเปลี่ยนแปลงเป็นชุมชนเมืองมากขึ้นวัฒนธรรมทางด้านความคิดความหวังมักสูงตามไปด้วย




Tag link: อาชีพในชุมชน: BLOG MY STORE : ชุมชน : อาชีพอุตสาหกรรม : อาชีพค้าขาย : อาชีพให้บริการ : อาชีพหัตถกรรม : อาชีพเกษตรกรรม : อาชีพหารายได้ของคนในชุมชน

อาชีพหัตถกรรมอาชีพในชุมชน

หัตถกรรมอาชีพในชุมชน

คืออาชีพที่เกี่ยวข้องการประดิษฐ์และจักสาน ซึ่งเน้นการหาและใช้วัตถุดิบในชุมชนเป็นหลัก เป็นอาชีพที่เกี่ยวกับฝีมือความปราณีตและความคิดสร้างสรรเป็นสำคัญ เสน่ของงานหัตถกรรมคือวัตถุดิบที่หาได้เฉพาะในท้องถิ่นนั้นๆจึงจะมีมูลค่าสูงทำให้ผู้ประกอบอาชีพมีรายได้ดี อาชีพต้นแบบที่สามารถสร้างอัตลักษณ์ตัวตนของสังคมชุมชนได้เป็นอย่างดีโดยฉะเพราะหากมีการส่งเสริมร่วมมือกันสร้างสรรผลิตภัณฑ์ที่เป็นที่ต้องการของชุมชนเป็นหลักเน้นสร้างเสริมอัตลักษณ์ให้เป็นเรื่องชีวิตประจำวันของคนในชุมชนได้ก็จะกล้ายเป็นสุดยอดผลิตภัณฑ์ที่ชุมชนมีความเชี่ยวชาญเป็นอย่างมากแล้วก็จะส่งผลให้ผลิตภัณฑ์หรือสินค้าของชุมชนเป็นที่ต้องการของตลาดในที่สุด เช่น ผ้าไหม เสื้อหม้อฮ่อม เป็นต้นล้วนแต่เกิดจากอัตลัษณ์ของคนในชุมชนทั้งนั้น เพราะฉะนั้นกาทำอาชีพในชุมชนคือการยึดโย่งและส่งเสริมอัตลักษณ์ของชุมชนเป็นหลักก่อนก้าวเข้าสู่ตลาดอาชีพมวลรวม













อาชีพในชุมชน tag link : BLOG MY STORE : ชุมชน : อาชีพอุตสาหกรรม : อาชีพค้าขาย : อาชีพให้บริการ : อาชีพหัตถกรรม : อาชีพเกษตรกรรม : อาชีพหารายได้ของคนในชุมชน

เกษตรกรรมอาชีพในชุมชน

<a href="http://blogmystore.blogspot.com/">blog: รายได้ my: ชุมชน store: อาชีพ</a>

เกษตรกรรมอาชีพในชุมชน

คืออาชีพที่เกี่ยวข้องกับการเพาะปลูกเป็นสำคัญ ได้แก่ อาชีพทำไร่ อาชีพทำนา อาชีพปลูกผัก เป็นต้น ในการทำอาชีพเกษตรกรรมในบ้านเราส่วนมากมักประสบปัญหาเดียวกันคือราคาพืชผลทางการเกษตรมักมีราคาที่ไม่แน่นอนส่วนมากราคาพืชผลมักถูกกำหนดราคาโดยพ่อค้าคนกลางส่วนคนที่ทำเกษตรกรรมไม่มีโอกาสตั้งราคาสินค้าเองได้เลยเพราะฉะนั้นหากเรามีความชอบและรักในการทำอาชีพเกษตรกรรมเราควรพิจารณาถึงเรื่องรายได้หรือราคาที่เราสามารถกำหนดหรือประเมินราคาเบื้องต้นได้ด้วยผู้เขียนอยากแนะนำให้ทำการปลูกพืชผักสวนครัวไว้ด้วยเพราะพืชผักสวนครัวนั้นเป็นพืชผักที่มีราคาที่แน่นอนและมีการซื้อขายกันทุกวันพ่อค้าแม่ค้าก็มีมากเราไม่จำเป็นต้องขายผ่านพ่อค้ารายใหญ่เหมือนสินค้าเกษตรอื่นและที่สำคัญคือเราสามารถเก็บและส่งขายให้พ่อค้าแม่ค้าในตลาดชุมชนหรือในตลาดสดได้ทุกวันทำให้มีรายได้เลี้ยงครอบครัวได้โดยไม่ต้องง้อสินค้าเกษตรหลักอย่างข้าว,อ้อย,หรือมันสำปะหลังหรือพืชสวนอื่นๆ พืชผักสวนครัวเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ ข่า,ตะไคร,ใบมะกรูด,มะนาว,กระเพรา,โหระพา,แมงลัก,พริก,มะเขือ เหล่านี้เป็นพืชที่ปลูกง่ายใช้พืชที่เพาะปลูกไม่มากแต่สามารถเก็บผลผลิตขายได้ทุกวันหากมีการวางแผนการปลูกดีๆก็สามารถสร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำกันเลยที่เดียวสำหรับคนที่สนใจทำเป็นอาชีพเสริมก็สามารถใช้พื้นที่หลังบ้านหรือพื้นที่ว่างในบริเวณบ้านได้แต่หากมีพื้นที่จำกัดก็สามารถปลูกในกระถางก็ยังได้แต่ต้องคัดเลือกดินที่มีคุณภาพดีมาใช้ใส่กระถางก็จะทำให้ได้ผลผลิตดี

อาชีพในชุมชน tag link : BLOG MY STORE : ชุมชน : อาชีพอุตสาหกรรม : อาชีพค้าขาย : อาชีพให้บริการ : อาชีพหัตถกรรม : อาชีพเกษตรกรรม : อาชีพหารายได้ของคนในชุมชน